เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 3.ภัททิยสูตร

ภัททิยะ เมื่อใดท่านพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า ‘ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรม
เหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์’ เมื่อนั้นท่านควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย
ภัททิยะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร คือ โลภะ (ความอยากได้) เมื่อเกิดขึ้น
ภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
ภัททิยลิจฉวีทูลว่า “ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภัททิยะ ก็บุรุษบุคคลผู้มีโลภะนี้ถูกโลภะครอบงำ
มีจิตถูกโลภะกลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูด
เท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนานบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททิยะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ฯลฯ
โมหะ (ความหลง) ฯลฯ1 สารัมภะ (การแข่งดี) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อม
เกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททิยะ ก็บุรุษบุคคลผู้มีสารัมภะนี้ถูกสารัมภะครอบงำ มีจิตถูกสารัมภะ
กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททิยะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล”
“เป็นอกุศล พระพุทธเจ้าข้า”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 3.ภัททิยสูตร

“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์หรือไม่ หรือท่านมีความเข้าใจในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไป
เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้าพระองค์มีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภัททิยะ เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า มาเถิด
ภัททิยะ ท่าน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ภัททิยะ เมื่อใดท่านพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า
‘ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่
บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์’ เมื่อนั้น ท่าน
ควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น มาเถิด ภัททิยะ ท่าน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :285 }